ภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการทยอยจ่ายภาษีล่วงหน้า ช่วยให้ไม่ต้องรับภาระภาษีเป็นเงินก้อน จึงเป็นเครดิตสำหรับคำนวณภาษีได้ ในกรณีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าภาระที่ต้องจ่ายจริง สามารถขอเงินคืนภาษี ที่จ่ายเกินไปได้
แต่ต้องภายใน 3 ปีนับจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นภาษี และเป็นสิ่งที่ภาครัฐจะมั่นใจได้ว่าจะเก็บภาษีจากประชาชนได้ ทั้งนี้ ข้อมูลการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะถูกส่งเข้าไปบันทึกอยู่ในระบบของกรมสรรพากรเป็นรายเดือน ดังนั้น กรมสรรพากรจึงมีข้อมูลการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้มีเงินได้ หากผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายได้ไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่สรรพากรจึงทราบเพราะตรวจสอบโดยอ้างอิงจากข้อมูลภาษีทัก ณ ที่จ่ายที่อยู่ในระบบอีกทางนึง
ใครบ้างต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งสรรพกร
การจะหักภาษี ณ ที่จ่าย ขึ้นอยู่กับประเภทรายการที่ต้องจ่ายและผู้ที่ถูกหักภาษีต้องเสียภาษีหรือไม่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ก็ สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย หากเข้าเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี
Find out more at:
LINE Official: https://lin.ee/xsFsYGD
Phone / เบอร์โทรศัพท์: 094-365-5697, 092-889-9046
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
#accounting #thailand #bangkok #pimaccounting #withholdingtax #cloudaccounting #legaladvice< #taxfiling