PDPA - คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA - คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Pimaccounting มีทีมให้คำปรึกษาด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่างกฎหมายให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA) ที่พร้อมให้แนวทางที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และปฏิบัติได้จริงเพื่อรับมือกับปัญหาด้านกฎหมาย ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม

ในปัจจุบันมีกฎหมายจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการใช้งานข้อมูล จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเข้าใจยาก นั่นเป็นเพราะการรวบรวม แบ่งปัน และใช้งานข้อมูลเป็นเรื่องน่าสับสนเหลือเกิน

เราเข้าใจดีว่ากฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมาย GDPR ของสหภาพยุโรป พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2561 และ พ.ร.บ. PDPA มีความซับซ้อนเพียงใด

เรามีระบบการทำงานอันเป็นเอกลักษณ์และมุ่งมั่นที่จะทำให้ความปลอดภัยและเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ เรายังต้องการให้คุณมั่นใจอีกด้วยว่าเราได้รักษาคุณค่าของข้อมูลของคุณตลอดการดำเนินงาน

ขอบเขตการให้บริการ

  • ตรวจสอบและประเมินผลการปกป้องข้อมูล
  • สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย GDPR และ พ.ร.บ. PDPA
  • ให้ความช่วยเหลือด้านการติดตั้งระบบในระบบสารสนเทศและการแสดงผลของข้อมูล
  • ให้ความช่วยเหลือด้านการติดตั้งระบบเพื่อรักษาความปลอดภัย
  • ให้ความช่วยเหลือด้านการติดตั้งระบบสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและฐานข้อมูล
  • ให้ความช่วยเหลือด้านการติดตั้งระบบเพื่อสร้างโปรแกรมและพัฒนากระบวนการปกป้องข้อมูล
  • ให้ความช่วยเหลือด้านการออกแบบการใช้งานบนเว็บไซต์และการแสดงผลตามช่องทางต่างๆ
  • การให้ความช่วยเหลือด้านสัญญาและกฎหมาย
  • การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ
  • การประเมินผลกระทบความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA)
  • การจัดการกับการรั่วไหลของข้อมูล
  • การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรและภายนอกองค์กรโดยเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับ PDPA

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้ออกแนวปฏิบัติที่ดีและน่าสนใจในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
 
01 ระบุข้อมูลส่วนบุคคล
สร้างความเข้าใจกับกลยุทธ์โดยรวมของการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลทั้งข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของบริษัท และข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA หลังจากนั้นให้ระบุขอบเขตของข้อมูลที่จะป้องกันและพัฒนาโครงสร้างข้อมูลแบบจำลองและจัดหมวดหมู่ของข้อมูล
 
02 ระบุวิธีการใช้ข้อมูล
ค้นหาวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ของข้อมูลเป็นประเภทต่างๆอย่างสม่ำเสมอ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโครงสร้างและวงจรชีวิตของข้อมูล เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
 
03 ระบุพื้นฐานของการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
ตั้งค่าพื้นฐานเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของบริษัท และข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA ประเมินกระบวนการควบคุมและมาตรการที่จำเป็น ตลอดจนทำการประเมินความเสี่ยงและการวิเคราะห์ช่องโหว่เพื่อระบุแนวทางแก้ไขและการลดความเสี่ยงลง
 
04 วางแผนออกแบบและดำเนินการป้องกันข้อมูล
วางแผนและจัดลำดับความสำคัญของมาตรการ เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของบริษัท และข้อมูลส่วนบุคคลทั้งข้อมูลทางเทคนิคและเชิงกลยุทธ์ หลังจากนั้นให้ออกแบบและใช้มาตรการป้องกันข้อมูลดังกล่าวอย่างปลอดภัย ที่สำคัญที่สุดมาตรการป้องกันจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจ
 
05 ตรวจสอบและปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
พัฒนากรอบการกำกับดูแลข้อมูล ที่เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงและกระบวนการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางปฏิบัติและมาตรการควบคุมทำงานอย่างถูกต้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ควรทบทวนกลยุทธ์และมาตรการป้องกันข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

pdpa-data-protection