จัดตั้งบริษัท

เริ่มต้นดูแลและจัดการธุรกิจในประเทศไทยด้วยขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทครบวงจร

OUR APPROACH

Pimaccounting มีทีมงานที่เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา จัดตั้งโครงสร้างบริษัท และจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ปลอดภัยสำหรับชาวต่างชาติ เรามีเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายและที่ปรึกษาที่ได้ดูแลบริษัทและธุรกิจนับพันในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์รวมกันหลายสิบปีในการจดทะเบียนบริษัทและเข้าใจทุกแง่มุมของกฎหมายไทยสำหรับชาวต่างชาติ เราพร้อมที่จะช่วยเหลือ ลองติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรี

ใครก็ตามที่วางแผนจดทะเบียนธุรกิจในประเทศไทยมักจะได้ยินเสมอว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับกฎหมายไทยและการปฏิบัติตามกฎหมายของไทย ด้วยความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ที่เรามีจะทำให้การก่อตั้งบริษัทและทำงานในประเทศไทยไม่มีความซับซ้อนอีกต่อไป ใน รวมถึงเข้าใจนโยบายใหม่ ๆ จากรัฐบาลในการจูงใจชาวต่างชาติให้มาลงทุนเพิ่มขึ้นในประเทศไทยหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การลดหย่อนภาษีไปจนถึงการเข้าถึงใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติได้อย่างง่ายดายมากขึ้นด้วย

บริษัทจำกัด

ในกรณีส่วนใหญ่ ขั้นตอนแรกที่ต้องทำในการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในประเทศไทยคือการจัดตั้งบริษัทจำกัด ซึ่งต้องมีเอกสารสำคัญสองประการ ได้แก่ ข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารทั้งสองประเภทนั้นจะต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ข้อบังคับของบริษัทสามารถปรับให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของบริษัทได้ตราบใดที่ผู้ถือหุ้นดั้งเดิมและผู้สนับสนุนยอมรับข้อกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร

การจัดตั้งบริษัท มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ในปัจจุบันคุณสามารถจัดตั้งบริษัทภายในวันเดียวกันได้โดยผู้เริ่มก่อการจะจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ ส่วนกรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียว ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทมีดังต่อไปนี้

1.1 จองชื่อนิติบุคคล
เปิดให้จองได้ 3 ชื่อ โดยนายทะเบียนจะพิจารณาชื่อตามลำดับ จึงควรเอาชื่อที่อยากได้ที่สุดไว้เป็นอันดับแรก ต่อจากนั้นก็ดำเนินการลงทะเบียนจองชื่อ โดยทำได้ 2 วิธี คือ ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียนด้วยตนเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ หรือถ้าเป็นต่างจังหวัด ให้ไปที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด จองผ่านอินเตอร์เน็ตโดยกรอกข้อมูลที่ www.dbd.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.2 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน
หนังสือบริคณห์สนธิ คือหนังสือที่แสดงความจำนงในการขอจัดตั้งบริษัท เนื้อความประกอบไปด้วยชื่อบริษัทที่จองไว้ ที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนทุน จำนวนหุ้น ราคาหุ้น และข้อมูลผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท

1.3 จัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมดและนัดประชุม
เมื่อมีผู้ตกลงซื้อหุ้นของบริษัทครบถ้วนแล้ว จะมีการออกหนังสือนัดจัดการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด

1.4 ประชุมจัดตั้งบริษัท
ในการประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชื่อทั้งหมด

ขอเลขผู้เสียภาษี
หลังจากที่ได้หนังสือรับรองมาแล้ว จะต้องจดทะเบียนขอเลขผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากร ซึ่งจดทะเบียนได้ 2 วิธี คือ ยื่นเรื่องกับเจ้าหน้าที่สรรพากรหรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลังจากได้เลขผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรมาแล้ว สามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้โดยมี 2 วิธี คือ ยื่นเรื่องกับเจ้าหน้าที่สรรพากรหรือยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต ถ้ายื่นเรื่องผ่านอินเทอร์เน็ต เจ้าที่หน้าสรรพากรจะเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการจริงอีกครั้ง





ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม วัฒนธรรมที่หลากหลาย อาหารอร่อยไม่แพ้ชาติใดในโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งดึงดูดใจสำหรับนักลงทุน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมชาวต่างชาติจึงให้ความสนใจประเทศไทยและให้เป็นประเทศอันดับต้น ๆ ในการมาเยือน อย่างไรก็ตาม การเข้ามาที่ประเทศไทยไม่ว่าด้วยเหตุผลในด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจ หรือการศึกษา การขอวีซ่าและดำเนินการเอกสารต่าง ๆ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

วีซ่าไทยจึงให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่ต้องการยื่นขอวีซ่า ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าทำงานหรือวีซ่าการศึกษา รวมถึงต้องการขอใบอนุญาตทำงาน ต่ออายุวีซ่า และต่ออายุใบอนุญาตทำงาน
สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการทำธุรกิจในประเทศไทย เรายังให้บริการด้านการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ดูแลบัญชี จัดการเรื่องภาษี ประกันสังคม และดำเนินการด้าน BOI สำหรับบริษัทที่ต้องการรับการส่งเสริมการลงทุนอีกด้วย

เวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “ไวรัสโควิด 19” ซึ่งทุกคนทั่วโลกต้องเผชิญกับความกลัวและป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ท่ามกลางความกลัวที่ผู้คนรอบข้างดูเหมือนจะระแวงกันว่าเขาหรือเราจะมีเชื้อไวรัสหรือเป็นพาหะหรือไม่นั้น เป็นเพราะว่าไวรัสโควิด19 ไม่เพียงแต่จะแพร่เชื้อผ่านคนต่อคนเท่านั้น และนอกจากจะสามารถทำร้ายร่างกายมนุษย์โดยตรงแล้ว การระบาดของไวรัสโควิด19 ยังนำมาซึ่งพิษเศรษฐกิจที่รุนแรงทั่วโลก ซึ่งผู้ประกอบการเองก็ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม หน่วยงานภาครัฐและสำนักงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม ก็ได้ออกมาตราการช่วยเหลือทั้งพนักงานและผู้ประกอบการ โดยทางกรมสรรพากรได้มีมาตราการเยียวยาให้กับผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดา ดังนี้

สำหรับบุคคลธรรมดา
1. ขยายการยื่นแบบชำระภาษี ภ.ง.ด. 90 และ 91 จากเดิมต้องนำส่งแบบและชำระภาษีภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เป็น 31 สิงหาคม 2563
2.เพิ่มจำนวนลดหย่อนประกันสุขภาพปี 2563 จากเดิม 15,000 บาทเป็น 23,000 บาท

สำหรับนิติบุคคล
1.ขยายการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 สำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 30 สิงหาคม 2563 เป็นยื่นแบบและชำระภาษีภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
2.ขยายการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 สำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นตั้งแต่ 1 กรกฎาคมถึง 29 กันยายน 2563 เป็นยื่นแบบและชำระภาษีภายในวันที่ 30 กันยายน 2563

และทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็ได้มีมาตราการขยายการจัดประชุมผู้ถือหุ้นล่าช้าเนื่องจากไวรัสโควิด 19 โดยมีฟอร์มให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผลเพื่อหลีกเลี่ยงเบี้ยปรับในการยื่นงบล่าช้า
สำหรับทางสำนักงานประกันสังคมก็มีมาตราการขยายการนำส่งประกันสังคมของ เดือน มีนาคม 2563 ที่จะต้องนำส่งภายในวันที่ 15 เมษายน.2563 เป็น 15 กรกฎาคม 2563
เดือน เมษายน 2563 ที่จะต้องนำส่งภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เป็น 15 สิงหาคม 2563
เดือน พฤษภาคม 2563 ที่จะต้องนำส่งภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 เป็น 15 กันยายน 2563 และลดอัตราการนำส่งของนายจ้างจากเดิม 5% เป็น 4% สำหรับลูกจ้างจากเดิมนำส่ง 5% เป็น 1%

สนใจทํางานร่วมกับเรา?